KUBET – 5 อุปกรณ์ต้องห้ามในวงการกีฬา : ถูกแบนเพราะดีเกินไป-ไม่แฟร์ต่อคู่แข่ง

5 อุปกรณ์ต้องห้ามในวงการกีฬา : ถูกแบนเพราะดีเกินไป-ไม่แฟร์ต่อคู่แข่ง

เจาะลึก 5 อุปกรณ์กีฬาที่ถูกแบนจากการแข่งขันเพราะ เพิ่มความได้เปรียบไม่เป็นธรรม ตั้งแต่ ไม้แร็กเกตสปาเก็ตตี้, ชุดว่ายน้ำ Speedo LZR, ไปจนถึง รองเท้าวิ่ง Nike Alphafly และสารเหนียว “สติ๊กกัม” ที่เคยเขย่าวงการ กีฬาเทนนิส, ว่ายน้ำ, วิ่ง, กอล์ฟ และอเมริกันฟุตบอล จนต้องมีคำสั่งห้ามใช้ถาวร

วงการกีฬานอกจากศักยภาพทางร่างกายของนักกีฬาแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีส่วนสำคัญที่อาจให้แต่ละคนสร้างความได้เปรียบคู่แข่งของพวกเขา แต่บางครั้งความทันสมัยที่มากเกินไปอาจจะเป็นการเอาเปรียบคู่แข่ง จนทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นโดนแบบไปตลอดกาล

ด้วยการที่โลกปัจจุบันมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสูงมาก ทำให้การผลิตอุปกรณ์ด้านกีฬาเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับนักกีฬา อย่างไรก็ตามอุปกรณ์บางอย่างอาจจะไม่แฟร์สำหรับนักกีฬาคนอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อผลแพ้ชนะในการแข่งขันก็ได้

ตั้งแต่พัตเตอร์กอล์ฟไปจนถึงวัสดุที่ใช้ทำชุดว่ายน้ำ นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเหล่านี้จึงจำเป็นต้องถูกสั่งห้ามในการแข่งขันกีฬา 

สำหรับอุปกรณ์กีฬา 5 ชนิดที่โดดเด่นอย่างชัดเจนจนคนทั่วโลกจำได้ไม่มีลืมเลือน และไม่มีทางได้เห็นพวกมันอยู่ในการแข่งขันอีกต่อไปมีอะไรบ้าง ไปพิจารณากันได้เลย 

1. ไม้แร็กเกตสปาเก็ตตี้ 

ไม้เทนนิสแบบ “สายคู่” รุ่นแรกมีมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 1800 แต่ความนิยมอย่างแท้จริงสำหรับไม้เทนนิสประเภทนี้เกิดขึ้นในปี 1977 โดยตอนนั้นนักแร็กเกตอย่าง แบร์รี่ ฟิลลิปส์-มัวร์, ไมเคิ่ล ฟิชบัช และ จอร์จ โกเว่น ได้ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อพลิกสถานการณ์ในการแข่งขันรายการสำคัญๆ

สำหรับประเด็นที่ได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากจากการใช้ “แร็กเกตสปาเกตตี้” ซึ่งมีสายแร็ตเกต 5 สายและใส่พลาสติกไว้ที่แต่ละจุดตัดของสาย ทำให้เวลาที่ลูกบอลกระทบสายมันไม่สามารถคาดเอาทิศทางได้ นั่นก็คือตอนที่ ฟิชบัช ที่รั้งมืออันดับ 200 ชนะ สแตน สมิธ ที่รั้งอันดับ 15 ของโลก ไปแบบสบายๆ 

ด้วยเหตุนี้ทำให้ สหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ไอทีเอฟ) ได้สั่งแบบชั่วคราววิธีการร้อยสายดังกล่าวช่วงปลายปี 1977 และตัดสินใจสั่งแบนถาวรการสร้างแร็กเกตดังกล่าวทันทีในปี 1978 เพื่อลดความเอาเปรียบคู่แข่ง 

2. ชุดว่ายน้ำ สปีโด้ แอลแซ่ดอาร์ เรเซอร์ 

สถิติโลกการว่ายน้ำ 23 รายการจากทั้งหมด 25 รายการที่เกิดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง ปี 2008 เกิดขึ้นโดยนักกีฬาเหล่านั้นได้สวมชุดว่ายน้ำ สปีโด้ แอลแซ่ดอาร์ เรเซอร์ (Speedo LZR Racers)

ไมเคิ่ล เฟลป์ส ฉลามหนุ่มชาวอเมริกัน ประกาศศักดาด้วยการคว้าเหรียญทอง 8 เหรียญในการแข่งขันรายการนี้ โดยความสุดยอดนี้ส่วนหนึ่งมาจากการช่วยเหลือของชุดว่ายน้ำ ซึ่งพัฒนาโดยร่วมมือกับ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ “นาซ่า” (NASA) 

ชุดดังกล่าวมีการบุด้วยแผงพลาสติกโพลียูรีเทน และใช้ระบบการบีบอัดเพื่อให้ชุดแนบชิดติดร่างกาย “เหมือนคอร์เซ็ต” และช่วยลดแรงเสียดทานของผิวหนังลง 24 เปอร์เซนต์ มากกว่าผ้าเดิมของ สปีโด้ ฟีน่า 

จากความไม่แฟร์กับนักว่ายน้ำคนอื่นๆ ทำให้ สหพันธ์กีฬาทางน้ำโลก (World Aquatics) มีมติห้ามใช้ชุดว่ายน้ำดังกล่าวในการแข่งขันตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นไป 

3. ไนกี้ อัลฟาฟลาย 

ตอนที่ เอเลียด คิปโชเก้ ตำนานนักวิ่งปอดเหล็กชาวเคนย่า ใส่รองเท้า ไนกี้ อัลฟาฟลาย (Nike Alphafly) ลงแข่งวิ่งมาราธอน มันทำให้เขาสร้างความตกตะลึงให้กับผู้คนทั่วโลก เพราะเขากลายเป็นคนแรกที่วิ่ง 42.195 กม. ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เมื่อปี 2019

สำหรับไนกี้ รุ่น อัลฟาฟลาย มีจุดเด่นตรงที่มีแผ่นคาร์บอน 3 ชั้น และแผ่นรองรับกันกระแทกที่หนามาก นั่นทำให้เกิดข้อถกเถียงกันว่ารองเท้ารุ่นนี้สร้างความได้เปรียบให้กับนักวิ่ง โดยมีการวิจัยว่ารองเท้านี้เพิ่มประสิทธิภาพการวิ่งได้ราว 4 เปอร์เซนต์ และความเร็วในการวิ่งได้ประมาณ 3.4 เปอร์เซนต์ 

นั่นทำให้ สหพันธ์กรีฑานานาชาติ สั่งแบนรองเท้ารุ่นดังกล่าวจากการแข่งขันระดับสูง โดยสร้างกฎใหม่ที่กำหนดว่ารองเท้าวิ่งจะต้องใส่แผ่นคาร์บอนไม่เกิน 1 ชั้น และที่รองรับแรงกระแทกชั้นกลางห้ามเกิน 40 มิลลิเมตร 

4. พัตเตอร์ก้านยาว

สำหรับพัตเตอร์ก้านยาวถูกสร้างขึ้นมาเพราะเป็นการเพิ่มเทคนิคการสวิงที่ทำขึ้นโดนนักกอล์ฟบางคน โดยอุปกรณ์นี้ได้รับความนิยมในช่วงต้นยุค 1980 เพราะมีการใช้พัตต์ก้านยาวอย่างแพร่หลาย 

พัตเตอร์ก้านยาว หรือที่เรียกว่า “เบลลี่ พัตเตอร์” (belly putter) กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่ามีลักษณะในการเอาปลายด้ามไปจิ้มพุง มีข้อดีจะช่วยให้พัตเตอร์แกว่งไปตามการหมุนของลำตัวและลดการใช้ข้อมือน้อยลง และวงสวิงใกล้เคียงกับการหมุนของลูกตุ้มนาฬิกามากที่สุด

ช่วงเวลานั้นมีนักกอล์ฟอาชีพหลายคนนิยมใช้พัตเตอร์ดังกล่าวเยอะมาก อาทิเช่น อดัม สกอตต์ , เออร์นี่ เอลส์, เว็บบ์ ซิมป์สัน และ แบรดลี่ย์ คีแกน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคนิคนี้จะนำไปใช้ในการแข่งขันกอล์ฟรายการใหญ่ๆ  แต่ สมาคมกอล์ฟแห่งสหรัฐอเมริกาและฝ่ายดูแลกฎและกติกา ตัดสินใจแบนพัตเตอร์ดังกล่าวในปี 2013 

กระนั้นนักกอล์ฟได้รับการผ่อนผันสำหรับการปฏิบัติตามกฎใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2016 กระนั้นบรรดาก้านเหล็กก็ได้พบกับเทคนิคอื่นที่ช่วยทำให้การพัตต์ง่ายขึ้นนั่นก็คือวิธี “การยึดแขน” (Arm Anchoring) เป็นการยึดหรือพยุงไม้กอล์ฟไว้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายระหว่างการสวิง อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวถูกแบนในเวลาต่อมา 

5. สารเหนียว “สติ๊กกัม” 

เลสเตอร์ เฮย์ส ดีเฟนซีฟแบ็คของ ลอสแองเจลิส เรดเดอร์ส พลาดการอินเตอร์เซ็ปป์เพียงครั้งเดียวก็จะทำลายสถิติของ เอ็นเอฟแอล ในหนึ่งซีซั่นด้วยจำนวน 13 ครั้งเมื่อปี 1980 แต่เขาได้รับความช่วยเหลือด้วยอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า “สติ๊กกัม” หรือสารเหนียว 

สำหรับอุปกรณ์พิเศษดังกล่าวทำให้ เฮย์ส กลายเป็นคนมีชื่อเสียงอย่างแพร่หลายด้วยการทาสารดังกล่าวบนร่างกายของเขาระหว่างการแข่งขันศึกคนชนคน การใช้สารดังกล่าวสร้างความได้เปรียบให้กับเขา เพราะปกติแล้วตอนแย่งบอลได้เจ้าตัวมักจะดูเงอะงะ แต่หลังจากใช้ตัวช่วย เฮย์ส แย่งบอลได้มันจะติดอยู่กับมือของเขาโดยแทบไม่มีข้อผิดพลาดเลย

ปกติแล้วผู้เล่นส่วนใหญ่จะทาสารเหนียวเฉพาะบนมือเท่านั้น แต่สำหรับ เฮย์ส เล่นทาทั่วทั้งตัว โดยเหตุผลเพราะเขาต้องทำให้แน่ใจว่าถ้าลูกบอลสัมผัสเขา เขาจะสามารถรับมันได้  

อย่างไรก็ตาม “เอ็นเอฟแอล” ตัดสินใจแบน “สติ๊กกัม” ในปี 1981 พร้อมเรียกกฎนี้ว่า “เลสเตอร์ เฮย์ส” โดยเหตุผลเพราะการใช้สารชนิดนี้เป็นการรบกวนการเล่น

TOMMY TEE.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *